ธรรมคุ้มครองโลก 2

[023]
ธรรมคุ้มครองโลก 2 (ธรรมที่ช่วยให้โลกมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่เดือดร้อนและสับสนวุ่นวาย — Lokapāla-dhamma: virtues that protect the world)
  1. หิริ (ความละอายบาป, ละอายใจต่อการทำความชั่ว — Hiri: moral shame; conscience)
  2. โอตตัปปะ (ความกลัวบาป, เกรงกลัวต่อความชั่ว — Ottappa: moral dread)

องฺ.ทุก.20/255/65; ขุ.อิติ. 25/220/257.
A.I.51; It.36.

หมวดธรรม: ทุกะ — หมวด 2 — Groups of Two (including related groups)
ที่มา: พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม — พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต)

อินทรีย์ 22

[349]
อินทรีย์ 22 (สิ่งที่เป็นใหญ่ในการทำกิจของตน คือ ทำให้ธรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นไปตามตน ในกิจนั้นๆ ในขณะที่เป็นไปอยู่นั้น — Indriya: faculties)

หมวดที่ 1
  1. จักขุนทรีย์ (อินทรีย์ คือ จักขุปสาท — Cakkhundriya: eye-faculty)
  2. โสตินทรีย์ (อินทรีย์ คือ โสตปสาท — Sotindriya: ear-faculty)
  3. ฆานินทรีย์ (อินทรีย์ คือ ฆานปสาท — Ghānindriya: nose-faculty)
  4. ชิวหินทรีย์ (อินทรีย์ คือ ชิวหาปสาท — Jivhindriya: tongue-faculty)
  5. กายินทรีย์ (อินทรีย์ คือ กายปสาท — Kāyindriya: body-faculty)
  6. มนินทรีย์ (อินทรีย์ คือ ใจ ได้แก่ จิต ที่จำแนกเป็น 89 หรือ 121 ก็ตาม — Manindriya: mind-faculty)
หมวดที่ 2
  1. อิตถินทรีย์ (อินทรีย์ คือ อิตถีภาวะ — Itthindriya: femininity faculty)
  2. ปุริสินทรีย์ (อินทรีย์ คือ ปุริสภาวะ — Purisindriya: masculinity faculty; virility)
  3. ชีวิตินทรีย์ (อินทรีย์ คือ ชีวิต — Jīvitindriya: life faculty; vitality)
หมวดที่ 3
  1. สุขินทรีย์ (อินทรีย์ คือ สุขเวทนา — Sukhindriya: bodily-pleasure faculty)
  2. ทุกขินทรีย์ (อินทรีย์ คือ ทุกขเวทนา — Dukkhindriya: bodily-pain faculty)
  3. โสมนัสสินทรีย์ (อินทรีย์ คือ โสมนัสสเวทนา — Somanassindriya: joy faculty)
  4. โทมนัสสินทรีย์ (อินทรีย์ คือ โทมนัสสเวทนา — Domanassindriya: grief faculty)
  5. อุเปกขินทรีย์ (อินทรีย์ คือ อุเบกขาเวทนา — Upekkhindriya: indifference faculty)
หมวดที่ 4
  1. สัทธินทรีย์ (อินทรีย์ คือ ศรัทธา — Saddhindriya: faith faculty)
  2. วิริยินทรีย์ (อินทรีย์ คือ วิริยะ — Viriyindriya: energy faculty)
  3. สตินทรีย์ (อินทรีย์ คือ สติ — Satindriya: mindfulness faculty)
  4. สมาธินทรีย์ (อินทรีย์ คือ สมาธิ ได้แก่ เอกัคคตา — Samādhindriya: concentration faculty)
  5. ปัญญินทรีย์ (อินทรีย์ คือ ปัญญา — Paññindriya: wisdom faculty)
หมวดที่ 5
  1. อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ (อินทรีย์แห่งผู้ปฏิบัติด้วยมุ่งว่าเราจักรู้สัจจธรรมที่ยังมิได้รู้ ได้แก่ โสตาปัตติมัคคญาณ — Anaññātaññassāmītindriya: ‘I shall come to know the unknown’ faculty, i.e. knowledge of the Stream-Entry Path)
  2. อัญญินทรีย์ (อินทรีย์ คือ อัญญา หรือปัญญาอันรู้ทั่วถึง ได้แก่ ญาณ 6 ในท่ามกลาง คือ โสตาปัตติผลญาณ ถึงอรหัตตมัคคญาณ — Aññindriya: perfect-knowledge faculty, i.e. knowledge of the six intermediate Paths and Fruitions)
  3. อัญญาตาวินทรีย์ (อินทรีย์แห่งท่านผู้รู้ทั่วถึงแล้ว กล่าวคือ ปัญญาของพระอรหันต์ ได้แก่ อรหัตตผลญาณ — Aññātāvindriya: perfect-knower faculty, i.e. knowledge of the Fruition of Arahantship)
อินทรีย์ 22 นี้ ที่มาในพระสูตร มีกระจายอยู่เป็นหมวดๆ ในที่หลายแห่ง ไม่ครบทั้ง 22 ในที่เดียวกัน เฉพาะที่มาสำคัญได้แก่ อินทรียสังยุตต์ (สํ.ม.19/843–1089/256–318; S.V.193–243) ส่วนที่มาในพระอภิธรรม และปกรณ์พิเศษภายหลัง มี วิสุทธิมัคค์ และ อภิธัมมัตถสังคหะ เป็นต้น มีคำอธิบายโดยพิสดาร

อภิ.วิ.35/236/161; วิสุทฺธิ.3/72; สงฺคห.41.
Vbh.122; Vism.491; Comp.175.

หมวดธรรม: อติเรกทสกะ — หมวดเกิน 10 — Groups of More Than Ten
ที่มา: พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม — พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต)

รูป 28

[***]
รูป 28 ดู [38] รูป 2¹, 28[39] มหาภูต หรือ ภูตรูป 4[40] อุปาทารูป หรือ อุปาทายรูป 24.

หมวดธรรม: อติเรกทสกะ — หมวดเกิน 10 — Groups of More Than Ten
ที่มา: พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม — พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต)

อายตนะภายนอก 6

[277]
อายตนะภายนอก 6 (ที่เชื่อมต่อให้เกิดความรู้, แดนต่อความรู้ฝ่ายภายนอก — Bāhirāyatana: external sense-fields) บาลีเรียก พาหิรายตนะ
  1. รูปะ (รูป, สิ่งที่เห็น หรือ วัณณะ คือสี — Rūpa: form; visible objects)
  2. สัททะ (เสียง — Sadda: sound)
  3. คันธะ (กลิ่น — Gandha: smell; odour)
  4. รสะ (รส — Rasa: taste)
  5. โผฏฐัพพะ (สัมผัสทางกาย, สิ่งที่ถูกต้องกาย — Phoṭṭhabba: touch; tangible objects)
  6. ธรรม หรือ ธรรมารมณ์ (อารมณ์ที่เกิดกับใจ, สิ่งที่ใจนึกคิด — Dhamma: mind-objects)
ทั้ง 6 นี้ เรียกทั่วไปว่า อารมณ์ 6 คือ เป็นสิ่งสำหรับให้จิตยึดหน่วง.

ที.ปา.11/305/255; ม.อุ.14/620/400; อภิ.วิ.35/99/85.
D.III.243; M.III.216; Vbh.70.

หมวดธรรม: ฉักกะ — หมวด 6 — Groups of Six (including related groups)
ที่มา: พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม — พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต)

อายตนะภายใน 6

[276]
อายตนะภายใน 6 (ที่เชื่อมต่อให้เกิดความรู้, แดนต่อความรู้ฝ่ายภายใน — Ajjhattikāyatana: internal sense-fields) บาลีเรียก อัชฌัตติกายตนะ
  1. จักขุ (จักษุ, ตา — Cakkhu: the eye)
  2. โสตะ (หู — Sota: the ear)
  3. ฆานะ (จมูก — Ghāna: the nose)
  4. ชิวหา (ลิ้น — Jivhā: tongue)
  5. กาย (กาย — Kāya: the body)
  6. มโน (ใจ — Mana: the mind)
ทั้ง 6 นี้ เรียกอีกอย่างว่า อินทรีย์ 6 เพราะเป็นใหญ่ในหน้าที่ของตนแต่ละอย่าง เช่น จักษุเป็นเจ้าการในการเห็น เป็นต้น.

ที.ปา.11/304/255; ม.อุ.14/619/400; อภิ.วิ.35/99/85.
D.III.243; M.III.216; Vbh.70.

หมวดธรรม: ฉักกะ — หมวด 6 — Groups of Six (including related groups)
ที่มา: พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม — พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต)

อายตนะ 12

[341]
อายตนะ 12 (สิ่งที่เชื่อมต่อกันให้เกิดความรู้, แดนต่อหรือแดนเกิดแห่งความรู้ — Āyatana: sense-fields; sense-spheres)
  1. อายตนะภายใน 6 ดู [276] อายตนะภายใน 6.
  2. อายตนะภายนอก 6 ดู [277] อายตนะภายนอก 6.

อภิ.วิ.35/99/85.
Vbh.70.

หมวดธรรม: อติเรกทสกะ — หมวดเกิน 10 — Groups of More Than Ten
ที่มา: พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม — พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต)

โพชฌงค์ 7

[281]
โพชฌงค์ 7 (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ — Bojjhaṅga: enlightenment factors)
  1. สติ (ความระลึกได้ สำนึกพร้อมอยู่ ใจอยู่กับกิจ จิตอยู่กับเรื่อง — Sati: mindfulness)
  2. ธัมมวิจยะ (ความเฟ้นธรรม, ความสอดส่องสืบค้นธรรม — Dhammavicaya: truth investigation)
  3. วิริยะ (ความเพียร — Viriya: effort; energy)
  4. ปีติ (ความอิ่มใจ — Pīti: zest; rapture)
  5. ปัสสัทธิ (ความผ่อนคลายสงบเย็นกายใจ — Passaddhi: tranquillity; calmness)
  6. สมาธิ (ความมีใจตั้งมั่น จิตแน่วแน่ในอารมณ์ — Samādhi: concentration)
  7. อุเบกขา (ความมีใจเป็นกลางเพราะเห็นตามเป็นจริง — Upekkhā: equanimity)
แต่ละข้อเรียกเต็ม มี สัมโพชฌงค์ ต่อท้ายเป็น สติสัมโพชฌงค์ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์.

ที.ปา.11/327/264; 434/310; อภิ.วิ.35/542/306.
D.III.251,282; Vbh.277.

หมวดธรรม: สัตตกะ — หมวด 7 — Groups of Seven (including related groups)
ที่มา: พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม — พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต)