อุปาทารูป หรือ อุปาทายรูป 24 (Upādā-rūpa: derivative materiality)
ก. ปสาทรูป 5 (รูปที่เป็นประสาทสำหรับรับอารมณ์ — Pasāda-rūpa: sensitive material qualities)
- จักขุ (ตา — Cakkhu: the eye)
- โสตะ (หู — Sota: the ear)
- ฆานะ (จมูก — Ghāna: the nose)
- ชิวหา (ลิ้น — Jivhā: the tongue)
- กาย (กาย — Kāya: the body)
- รูปะ (รูป — Rūpa: form)
- สัททะ (เสียง — Sadda: sound)
- คันธะ (กลิ่น — Gandha: smell)
- รสะ (รส — Rasa: taste)
- โผฏฐัพพะ (สัมผัสทางกาย — Phoṭṭhabba: tangible objects) ข้อนี้ไม่นับเพราะเป็นอันเดียวกับมหาภูต 3 คือ ปฐวี เตโช และ วาโย ที่กล่าวแล้วในมหาภูต
ค. ภาวรูป 2 (รูปที่เป็นภาวะแห่งเพศ — Bhāva-rūpa: material qualities of sex)
- อิตถัตตะ, อิตถินทรีย์ (ความเป็นหญิง — Itthatta: femininity)
- ปุริสัตตะ, ปุริสินทรีย์ (ความเป็นชาย — Purisatta: masculinity)
ง. หทัยรูป 1 (รูปคือหทัย — Hadaya-rūpa: physical basis of mind)
- หทัยวัตถุ* (ที่ตั้งแห่งใจ, หัวใจ — Hadaya-vatthu: heart-base)
จ. ชีวิตรูป 1 (รูปที่เป็นชีวิต — Jīvita-rūpa: material quality of life)
- ชีวิตินทรีย์ (อินทรีย์คือชีวิต — Jīvitindriya: life-faculty; vitality; vital force)
ฉ. อาหารรูป 1 (รูปคืออาหาร — Āhāra-rūpa: material quality of nutrition)
- กวฬิงการาหาร (อาหารคือคำข้าว, อาหารที่กิน — Kavaḷiṅkārāhāra: edible food; nutriment)
ช. ปริจเฉทรูป 1 (รูปที่กำหนดเทศะ — Pariccheda-rūpa: material quality of delimitation)
- อากาสธาตุ (สภาวะคือช่องว่าง — Ākāsa-dhātu: space-element)
ญ. วิญญัติรูป 2 (รูปคือการเคลื่อนไหวให้รู้ความหมาย — Viññatti-rūpa: material quality of communication)
- กายวิญญัติ (การเคลื่อนไหวให้รู้ความหมายด้วยกาย — Kāya-viññatti: bodily intimation; gesture)
- วจีวิญญัติ (การเคลื่อนไหวให้รู้ความหมายด้วยวาจา — Vacī-viññatti: verbal intimation; speech)
ฎ. วิการรูป 5 (รูปคืออาการที่ดัดแปลงทำให้แปลกให้พิเศษได้ — Vikāra-rūpa: material quality of plasticity or alterability)
- [รูปัสสะ] ลหุตา (ความเบา — Lahutā: lightness; agility)
- [รูปัสสะ] มุทุตา (ความอ่อนสลวย — Mudutā: pliancy; elasticity; malleability)
- [รูปัสสะ] กัมมัญญตา (ความควรแก่การงาน, ใช้การได้ — Kammaññatā: adaptability; wieldiness)
- วิญญัติรูป 2 ไม่นับเพราะซ้ำในข้อ ญ.
ฏ. ลักขณรูป 4 (รูปคือลักษณะหรืออาการเป็นเครื่องกำหนด — Lakkhaṇa-rūpa: material quality of salient features)
- [รูปัสสะ] อุปจยะ (ความก่อตัวหรือเติบขึ้น — Upacaya: growth; integration)
- [รูปัสสะ] สันตติ (ความสืบต่อ — Santati: continuity)
- [รูปัสสะ] ชรตา (ความทรุดโทรม — Jaratā: impermanence)
- [รูปัสสะ] อนิจจตา (ความปรวนแปรแตกสลาย — Aniccatā: impermanence)
* ข้อนี้ ในพระไตรปิฎก รวมทั้งอภิธรรมปิฎก ไม่มี เว้นแต่ปัฏฐานใช้คำว่า วัตถุ ไม่มี หทัย
Dhs.127; Vism.443; Comp.155.
หมวดธรรม: ทุกะ — หมวด 2 — Groups of Two (including related groups)
ที่มา: พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม — พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต)