ปฏิปทา 4

[154]
ปฏิปทา 4 (แนวปฏิบัติ, ทางดำเนิน, การปฏิบัติแบบที่เป็นทางดำเนินให้ถึงจุดหมายคือความหลุดพ้นหรือความสิ้นอาสวะ — Paṭipadā: modes of practice; modes of progress to deliverance)
  1. ทุกฺขา ปฏิปทา ทนฺธาภิญฺญา (ปฏิบัติลำบาก ทั้งรู้ได้ช้า เช่นผู้ปฏิบัติที่มีราคะ โทสะ โมหะแรงกล้า ต้องเสวยทุกข์โทมนัสเนื่องจากราคะ โทสะ โมหะนั้นอยู่เนืองๆ หรือเจริญกรรมฐานที่มีอารมณ์ไม่น่าชื่นใจ เช่น อสุภะ เป็นต้น อีกทั้งอินทรีย์ก็อ่อน จึงบรรลุโลกุตตรมรรคล่าช้า พระจักขุบาลอาจเป็นตัวอย่างในข้อนี้ได้ — Dukkhā paṭipadā dandhābhiññā: painful progress with slow insight)
  2. ทุกฺขา ปฏิปทา ขิปฺปาภิญฺญา (ปฏิบัติลำบาก แต่รู้ได้เร็ว เช่น ผู้ปฏิบัติที่มีราคะ โทสะ โมหะแรงกล้า ต้องเสวยทุกข์โทมนัสเนื่องจากราคะ โทสะ โมหะนั้นอยู่เนืองๆ หรือเจริญกรรมฐานที่มีอารมณ์ไม่น่าชื่นใจ เช่น อสุภะ เป็นต้น แต่มีอินทรีย์แก่กล้า จึงบรรลุโลกุตตรมรรคเร็วไว บาลียกพระมหาโมคคัลลานะเป็นตัวอย่าง — Dukkhā paṭipadā khippābhiññā: pleasant progress with slow insight)
  3. สุขา ปฏิปทา ทนฺธาภิญฺญา (ปฏิบัติสบาย แต่รู้ได้ช้า เช่น ผู้ปฏิบัติที่มีราคะ โทสะ โมหะไม่แรงกล้า ไม่ต้องเสวยทุกข์โทมนัสเนื่องจากราคะ โทสะ โมหะนั้นเนืองนิตย์ หรือเจริญสมาธิได้ฌาน 4 อันเป็นสุขประณีต แต่มีอินทรีย์อ่อน จึงบรรลุโลกุตตรมรรคล่าช้า — Sukhā paṭipadā dandhābhiññā: pleasant progress with slow insight)
  4. สุขา ปฏิปทา ขิปฺปาภิญฺญา (ปฏิบัติสบาย ทั้งรู้ได้ไว เช่น ผู้ปฏิบัติที่มีราคะ โทสะ โมหะไม่แรงกล้า ไม่ต้องเสวยทุกข์โทมนัสเนื่องจากราคะ โทสะ โมหะนั้นเนืองนิตย์ หรือเจริญสมาธิได้ฌาน 4 อันเป็นสุขประณีต อีกทั้งมีอินทรีย์แก่กล้า จึงบรรลุโลกุตตรมรรคเร็วไว บาลียกพระสารีบุตรเป็นตัวอย่าง — Sukhā paṭipadā khippābhiññā: pleasant progress with quick insight)

องฺ.จตุกฺก.21/161–3/200–4; 167–8/207–9.
A.II.149–152,154–5.

หมวดธรรม: จตุกกะ — หมวด 4 — Groups of Four (including related groups)
ที่มา: พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม — พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต)