ปฏิสัมภิทา 4

[155]
ปฏิสัมภิทา 4 (ปัญญาแตกฉาน — Paṭisambhidā: analytic insight; penetrating insight; discrimination)
  1. อัตถปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในอรรถ, ปรีชาแจ้งในความหมาย, เห็นข้อธรรมหรือความย่อ ก็สามารถแยกแยะอธิบายขยายออกไปได้โดยพิสดาร เห็นเหตุอย่างหนึ่ง ก็สามารถคิดแยกแยะกระจายเชื่อมโยงต่อออกไปได้จนล่วงรู้ถึงผล — Attha-paṭisambhidā: discrimination of meanings; analytic insight of consequence)
  2. ธัมมปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในธรรม, ปรีชาแจ้งในหลัก, เห็นอรรถาธิบายพิสดาร ก็สามารถจับใจความมาตั้งเป็นกระทู้หรือหัวข้อได้ เห็นผลอย่างหนึ่ง ก็สามารถสืบสาวกลับไปหาเหตุได้ — Dhamma-paṭisambhidā: discrimination of ideas; analytic insight of origin)
  3. นิรุตติปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในนิรุกติ, ปรีชาแจ้งในภาษา, รู้ศัพท์ ถ้อยคำบัญญัติ และภาษาต่างๆ เข้าใจใช้คำพูดชี้แจงให้ผู้อื่นเข้าใจและเห็นตามได้ — Nirutti-paṭisambhidā: discrimination of language; analytic insight of philology)
  4. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ, ปรีชาแจ้งในความคิดทันการ, มีไหวพริบซึมซาบในความรู้ที่มีอยู่ เอามาเชื่อมโยงเข้าสร้างความคิดและเหตุผลขึ้นใหม่ ใช้ประโยชน์ได้สบเหมาะ เข้ากับกรณีเข้ากับเหตุการณ์ — Paṭibhāṇa-paṭisambhidā: discrimination of sagacity; analytic insight of ready wit; initiative, creative and applicative insight)

องฺ.จตุกฺก.21/172/216; ขุ.ปฏิ.31/268/175; อภิ.วิ.35/784/400.
A.II.160; Ps.I.119; Vbh.294.

หมวดธรรม: จตุกกะ — หมวด 4 — Groups of Four (including related groups)
ที่มา: พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม — พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต)