วิโมกข์ 3

[107]
วิโมกข์ 3 (ความหลุดพ้น, ประเภทของความหลุดพ้น จัดตามลักษณะการเห็นไตรลักษณ์ข้อที่ให้ถึงความหลุดพ้น — Vimokkha: liberation; aspects of liberation)
  1. สุญญตวิโมกข์ (หลุดพ้นด้วยเห็นความว่างหมดความยึดมั่น ได้แก่ ความหลุดพ้นที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็นนามรูป โดยความเป็นอนัตตา คือ หลุดพ้นด้วยเห็นอนัตตตา แล้วถอนความยึดมั่นเสียได้ — Suññata-vimokkha: liberation through voidness; void liberation) = อาศัยอนัตตานุปัสสนา ถอนอัตตาภินิเวส
  2. อนิมิตตวิโมกข์ (หลุดพ้นด้วยไม่ถือนิมิต ได้แก่ ความหลุดพ้นที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็นนามรูป โดยความเป็นอนิจจัง คือ หลุดพ้นด้วยเห็นอนิจจตา แล้วถอนนิมิตเสียได้ Animitta-vimokkha: liberation through signlessness; signless liberation) = อาศัยอนิจจานุปัสสนา ถอนวิปัลลาสนิมิต
  3. อัปปณิหิตวิโมกข์ (หลุดพ้นด้วยไม่ทำความปรารถนา ได้แก่ ความหลุดพ้นที่เกิดจากปัญญาจารณาเห็นนามรูป โดยความเป็นทุกข์ คือ หลุดพ้นด้วยเห็นทุกขตา แล้วถอนความปรารถนาเสียได้ Appaṇihita-vimokkha: liberation through dispositionlessness; desireless liberation) = อาศัยทุกขานุปัสสนา ถอนตัณหาปณิธิ
ดู [47] สมาธิ 3².

ขุ.ปฏิ.31/469/353; วิสุทฺธิ.3/299; สังคห.55.
Ps.II.35; Vism.657; Comp.211.

หมวดธรรม: ติกะ — หมวด 3 — Groups of Three (including related groups)
ที่มา: พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม — พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต)