ปริญญา 3 (การกำหนดรู้, การทำความรู้จัก, การทำความเข้าใจโดยครบถ้วน — Pariññā: full understanding; diagnosis)
- ญาตปริญญา (กำหนดรู้ด้วยให้เป็นสิ่งอันรู้แล้ว, กำหนดรู้ขั้นรู้จัก, กำหนดรู้ตามสภาวลักษณะคือ ทำความรู้จักจำเพาะตัวของสิ่งนั้นโดยตรง พอให้ชื่อว่าได้เป็นอันรู้จักสิ่งนั้นแล้ว เช่นรู้ว่า นี้คือเวทนา เวทนาคือสิ่งที่มีลักษณะเสวยอารมณ์ ดังนี้เป็นต้น — Ñāta-pariññā: full knowledge as the known; diagnosis as knowledge)
- ตีรณปริญญา (กำหนดรู้ด้วยการพิจารณา, กำหนดรู้ขั้นพิจารณา, กำหนดรู้โดยสามัญลักษณะคือ ทำความรู้จักสิ่งนั้นพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เช่นว่า เวทนาไม่เที่ยง มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ดังนี้เป็นต้น — Tīraṇa-pariññā: full knowledge as investigating; diagnosis as judgment)
- ปหานปริญญา (กำหนดรู้ด้วยการละ, กำหนดรู้ถึงขั้นละได้, กำหนดรู้โดยตัดทางมิให้ฉันทราคะเกิดมีในสิ่งนั้น คือรู้ว่าสิ่งนั้นเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาแล้ว ละนิจจสัญญาเป็นต้น ในสิ่งนั้นเสียได้ — Pahāna-pariññā: full knowledge as abandoning; diagnosis as abandoning)
ปริญญา 3 นี้ เป็นโลกิยะ มีขันธ์ 5 เป็นอารมณ์ เป็นกิจในอริยสัจจ์ข้อที่ 1 คือทุกข์ ในทางปฏิบัติ จัดเข้าใน วิสุทธิ ข้อ 3 ถึง 6 คือ
ก. ตั้งแต่นามรูปปริจเฉทญาณ ถึง ปัจจยปริคคหญาณ เป็นภูมิแห่งญาตปริญญา (= 3. ทิฏฐิวิสุทธิ และ 4. กังขาวิตรณวิสุทธิ)
ข. ตั้งแต่กลาปสัมมสนญาณ ถึง อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ เป็นภูมิแห่งตีรณปริญญา (= 5. มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ)
ค. ตั้งแต่ภังคานุปัสสนาญาณ ขึ้นไป เป็นภูมิแห่งปหานปริญญา (= 6. ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ)
ก. ตั้งแต่นามรูปปริจเฉทญาณ ถึง ปัจจยปริคคหญาณ เป็นภูมิแห่งญาตปริญญา (= 3. ทิฏฐิวิสุทธิ และ 4. กังขาวิตรณวิสุทธิ)
ข. ตั้งแต่กลาปสัมมสนญาณ ถึง อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ เป็นภูมิแห่งตีรณปริญญา (= 5. มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ)
ค. ตั้งแต่ภังคานุปัสสนาญาณ ขึ้นไป เป็นภูมิแห่งปหานปริญญา (= 6. ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ)
Nd1 53; Vism.606.
หมวดธรรม: ติกะ — หมวด 3 — Groups of Three (including related groups)
ที่มา: พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม — พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต)